วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559


ปัญหาก่อนลง CentOS และหลังจากลง CentOS





55555555555555555555555555 โทษๆ คียบอร์ดลั่นครับ   ไม่ต้องอายนะครับ ถามมาก็ตอบหมด  ผมรู้ครับว่าปัญหา มันเกิดได้ทุกคน  ไม่มีไครหรอกทำงาน ทำอะไรครั้งแรกแล้วจะสำเร็จด้วยดี   การลง OS Linux ก็เช่นกัน   จะให้ราบรื่น ยังกับคู่มือมันก็ไม่ไช่หรอก!!!     Linux Thai Guild เลยเปิดบทความนี้แบบ Real Time เพิ่มเติมปัญหาทุกครั้งที่ทุกคนถามมา

หากมีปัญหาอะไรเกี่ยวกับ Linux ทั้งก่อนลง หรือหลังลง จะถามแบบ  บ้านๆ หรือ แบบ ฮาร์ดคอ  ผมจะตอบให้หมดครับ  บางอันตอบไม่ได้ ก็จะไปถามนักวิชาการท่านอื่นมาตอบให้ได้ครับ  ผมสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน แล้วแผ่นดิ....................   (จะโดนเรียกไปปรับทัศนคติไหมเนี่ย)

สอบถามได้ที่เพจ
https://www.facebook.com/557844101037038/
นะคร้าบมากดไลท์กดแชร์กันเยอะๆเน้อ


ถาม-ตอบ  BY Knotto


ถาม: ใส่แผ่นไปแล้น แต่มันไม่เข้าหน้า install linux ครับ

ตอบ: ปัญหานี้  อาจจะเป็นปัญหาระดับชาติเลยครับ  ผมเองก็เคยเป็น   ก่อนอื่นต้องตั้ง boot ให้ตัว DVD รันเป็นอันดับแรกครับ  เข้าหน้า Bios(หน้า) แล้วกด F1,F2,F3,DEL และอื่นๆ  (ส่วนอันนี้ผมใช้  NotebookDell นะครับเลยใช้ F2 แต่บางเครื่องอาจจะเป็น F1 ,F3 และอื่นๆ ก็ว่ากันไป)  เซตให้มันเป็น First ซ๊าาาาาา ตามภาพเบย





ขอบคุณ ภาพจาก http://www.windowsreinstall.com/win7homepremium/7help/firstbootinbios/index.htm


 ------------------------------------


ถาม  เข้าbootCD แล้วครับติดตั้งไม่ได้  ไม่ขึ้นอะไรเลย

ตอบ  อันดับแรกให้มองที่ต้นของปัญหาก่อนเลยครับ  ลองหาแผ่นวินโดว  หรือแผ่นอื่นใส่แล้วลองดูว่ามัน ขึ้นไรไหม  ถ้าขึ้นก็แสดงว่า  แผ่นนั้นมีปัญหาแล้วแหละครับ  อาจจะไลท์ DVD ผิด  หรือ ระหว่าง ไลท์มีการผิดพลาดอะไรขึ้นซักอย่างเลยทำให้มันไม่Run แผ่นครับ   (ส่วนตัวผมใช้  Bern-aware นะโปรแกรมฟรี  ไฟล์ที่จะเอามา Bern ก็เป็นไฟล์ ISO ครับ ใช้เมนูตามภาพเลย )




----------------------------------








 

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การติดตั้ง ระบบปฎิบัติการ Linux CentOS 7

การติดตั้ง OS Linux 


OS ที่จะติดตั้งตัวแรกก็เป็น CentOS 7 ครับ  ส่วน Ubuntu เป็น บทความหน้านะครับ และถ้าตัวไหนน่าสนใจก็จะเขียนวิธีติดตั้งให้เรื่อยๆ ครับ

ก่อนจะติดตั้ง ทำความเข้าใจกับ Linux  CentOS 7  กันก่อนเดียวจะไปตกม้าตายตอนเขาถามกันว่าลงทำไม ลงเพราะอะไร  ทำไมต้องลง CentOS

CentOS 7 คือ

CentOS ย่อมาจาก Community ENTerprise Operating System เป็นลีนุกซ์ที่พัฒนามาจากต้นฉบับ RedHat Enterprise Linux (RHEL) โดยที่ CentOS ได้นำเอาซอร์สโค้ดต้นฉบับของ RedHat มาทำการคอมไพล์ใหม่โดยการพัฒนายังเน้นพัฒนาเป็นซอฟต์แวร์ Open Source ที่ถือลิขสิทธิ์แบบ GNU General Public License ในปัจจุบัน CentOS Linux ถูกนำมาใช้ในการทำ Web Hosting กันอย่างกว้างขวางเนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการที่มีต้นแบบจาก RedHat ที่มีความแข็งแกร่งสูง (ปัจจุบันเน้นพัฒนาในเชิงการค้า) การติดตั้งแพ็กเกจย่อยภายในสามารถใช้ได้ทั้ง RPM, TAR, APT หรือใช้คำสั่ง YUM ในการอัปเดทซอฟต์แวร์แบบอัตโนมัติ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.centos.org

cr. ขอขอบคุณเว็บ http://www.arnut.com/b/CentOS  สำหรับข้อมูลดังกล่าวครับ


คุณสมบัติสำคัญ
- พื้นฐานโครงสร้างเป็น  RedHat Enterprise Linux (RHEL)
- License Opensource แบบ GNU
- คำสั่งติดตั้งพื้นฐาน YUM
- Packet Compiler พิ้นฐาน  RPM , TAR , SH
-ลักษณะการนำไปใช้งาน  (ปัจจุบัน Centos7 ทำได้หลายอย่าง ตามแพคเกตกรุ๊ปที่ติดตั้ง  ไม่ว่าจะเป็น Webserver / DBserver /CloudServer /StorageServer /Client Destop และอื่นๆ)

**ในความเห็นส่วนตัวของผม Centos นิยมใช้ในงาน Server  มากกว่า Client นะครับ  เพราะหากจะต้องใช้ Desktop หรือ กราฟฟิคสูงๆ  ส่วนใหญ่คนทั่วไปจะหันไปใช้ Ubuntu Desktop กันซะมากกว่า  เพราะในเรื่องของการพัฒนา  Ubuntu ค่อนข้างพัฒนาในส่วนของ Desktop อยู่เรื่อยๆ  ต่างกับตรง Centos ที่ส่วนใหญ่จะเป็นการพัฒนาด้านความปลอดภัยของระบบ   



การติดตั้ง CentOS7  มีขั้นตอนดังนี้ครับ

1. โหลดตัวติดตั้งและ เบิรนลงใน DVD  จากเว็บเลยคร้าบ https://www.centos.org/
(*แนะนำให้โหลด DVD iso นะครับ  )

2. Boot option ให้อ่าน ไดรฟ DVD ที่มีแผ่น Centos7 ลงไป

3. จะพบหน้าดังรูป เลือก "Install CentOS 7"

4.เลือกภาษาที่ต้องการและกด Continue


5.โดยปกติการติดตั้งจะทำการจัดพาทิชั่น (Partitioning) อัตโนมัติบนฮาร์ดดิส เราสามารถแก้ไขได้โดยกดที่ "Installation Destination" 

6.กดที่ฮาร์ดดิสที่ต้องการติดตั้ง CentOS 7 และด้านใต้ Other Storage Options เลือก I will configure partitioning ต่อมากด Done

7. ทำการสร้างPatitionที่ต้องการ เมื่อเสร็จเรียบร้อยกด Done



8.จะพบหน้าต่าง สรุปการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ต่อมากด Accept changes


9. ออกมาหน้าติดตั้ง แล้วเลือก ตั้งค่าวันที่และเวลาด้วยโซนที่ต้องการ เสร็จแล้วกด Done  (ในไทยจะเป็น Bankok GMT+7 นะครับ  )  **ให้ทุกคนพึงระวังว่า เวลามีผลกับอินเตอรเนตนะครับ  หลายๆคนติดตั้ง Software ลง Server ไม่ได้  นั่นก็เพราะเวลาของเรากับ Timezone  ที่เราติดตั้ง มันไม่สอดคล้องกันครับ    เอาง่ายๆคือ ถ้าลงอะไรไม่สำเร็จ  install ไม่ผ่าน ดูเวลาเครื่องก่อนเลย ว่าตรงไหม


10. ตั้งค่า Network และ Hostname ที่ต้องการ โดยกดที่ "NETWORK & HOSTNAME"


11. เลือก Software ที่ต้องการติดตั้งโดยกดที่ "Software Selection"

ในที่นี้ CentOS 7 จะทำการติดตั้ง Software ที่ใช้ในงานตามหมวดต่างๆให้นะครับ ผมยกตัวอย่างเช่น

-Minimal Server = อันนี้จะเป็น Server ขนาดย่อม  ระบบไม่มีอะไรติดมาเลย มีแค่เครื่องมือ Editor กับ tools พื่นฐานนิดหน่อย ส่วนต้องการอะไรเพิ่มเต้ม  ให้เราใช้คำสั่ง Yum install Software ที่ต้องการเอาเองเลย

-Basic Web Server  = อันนี้ก็จะเป็น Server หน้า ขาวดำล้วนๆ ไม่มี หน้า Desktop ครับ  แล้วระบบก็จะติดตั้ง Software พื้นฐานสำหรับ Basic Server ให้  เช่่น Php , Java  , httpd  ซึ่งล้วนแล้วแต่ใช้ในการสร้าง Webserver ที่สำคัญเบื้องต้นมาให้เรียบร้อยเลย ไม่ต้องใช้คำสั่ง Yum install php / httpd / อะไรให้วุ่นวาย

- GNOME Desktop = อันนี้ก็จะเป็น Desktop Client  มีหน้า Desktop และเครื่องมือ Desktop ทั้งหลายแหล่มาให้  โหมดนี้เหมาะสำหรับ ดูหนัง ฟังเพลง หรือ ใช้โปรแกรม ที่ต้องเห็นภาพ เห็น รูปธรรม

12. เมื่อตั้งค่าที่จำเป็นเสร็จเรียบร้อย กดที่ "Begin Installation" เพื่อเริ่มติดตั้ง



13. กดไปสักพักมันจะเด้งให้เรา ตั้งค่า root password


14. สร้าง User  ถ้าเป็นโหมด Desktop ส่วนใหญ่จะถามการตั้งค่่า User ที่จะใช้งานเพิ่มเติมด้วยครับ  


15. การติดตั้งจะแสดงเปอร์เซ็นความสำเร็จด้านล่าง


16. เมื่อการติดตั้งเสร็จสมบูรณ์ ระบบจะให้ Reboot ทำการกด Reboot  แล้วคอมจะ เปิด ช่อง DVD ของเรา ให้เราเอาแผ่นออก ครับ ไม่งั้น มันจะเข้ามาหน้า install ใหม่



17. เมื่อ Reboot เราจะเข้าสู่หน้า Log In สำหรับเข้าใช้ CentOS ครั้งแรก "Accept the EULA agreement"



18.เมื่อ Log In จะปรากฏหน้าจอ Desktop ของ CentOS 7



เป็นอันติดตั้งเสร็จสิ้นการติดตั้งครับ  แต่ มันพึ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น เพราะว่าหลังจากติดตั้งแล้ว คุณอาจจะไม่เจอปัญหา หรือเจอปัญหา ก็ได้    ซึ่งผมจะเอามาเขียนเป็นบทความหน้านะครับ  เป็นบทความ

"ปัญหาหลังจากติดตั้ง  CentOS7 และวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าว ฉบับถามตอบ "

*ไครมีปัญหาอะไร  ที่เจอ สามารถสอบถาม หรือ บอกเล่าได้นะครับ เพราะบทความหน้าจะเป็นการเขียนเชิง  ถาม-ตอบ  ซึ่งผมคิดว่า  การโฟกัสเรื่องปัญหา แล้วนำปัญหาที่ได้มาเป็นคำตอบ   มันจะทำให้ คนเข้าใจใน Linux ง่ายขึ้น และจะมอง Linux เป็นเรื่อยไม่ยาก อีกต่อไป

ยังไงก็ฝากบทความ Linux หน้าใหม่อย่างผมด้วยนะครับ   ติติง  แนะนำ  ถาม ตอบ ได้เสมอนะครับ  ผมยินดีน้อมรับ และปรับปรุง

ขอขอบคุณเว็บไซต์อ้างอิง

http://www.linuxtechi.com/

http://www.arnut.com/b/CentOS



วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2558

จะเริ่มใช้ Linux ต้องทำยังไง?





บทความเกริ่นนำเรื่อง Linux มาคร่าวๆบ้างแล้ว    

**คงไม่มีทฤษฎีไหน จะทำให้เข้าใจมากกว่าการปฎิบัติ หรอกครับ   แต่ถ้าปฎิบัติทั้งๆที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลยมันก็คงจะทำได้ยาก    ถ้าแค่ติดตั้งงูๆปลาๆ  เด็กมัธยม ก็ทำได้ครับ  แค่ติ๊กๆ  Nextๆ   รอ Install ก็จบ  สรุปคือ ลงได้ ผ่านๆ  แต่ไม่ได้ความรู้เหวววอะไรเลย  เปลี่ยนดั่งพี่เป็นแค่ขอนไม้ อะไรประมาณนั้นครับเลยอยากจะให้เข้าใจ ทฤษฎีบ้านๆ  ที่เกี่ยวกับการติดตั้งให้ฟังกันก่อน

แต่ก่อนจะปฎิบัติผมอยากจะบอกให้เข้าใจง่ายๆก่อนว่า คำว่า ระบบปฎิบัติการ Linux  นั้น เป็นเพียงจุดเริ่มตั้นของ OS Linux เท่านั้น  (What? !!)

Linux OS 

Linux มี หลายสายพันธ์มากครับ ตัวผมเองก็ไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่ารู้จักทุกสาย  แต่จะขอเน้นๆที่คนใช้งานและพูดถึงกันหลักๆนะครับ

- Mint
- Opensuse
- Ubuntu
- Centos
- Redhat
- Fedora
- Arch
- Kali
และอื่นๆอีกมากมาย (ขนาดยกตัวอย่างการใช้งานหลักๆ ยังบอกได้ไม่หมดเลย)
ยังไงก็ลองเข้าไปดู  ไปศึกษา OS Linux ยอดนิยม และ OS Linux มาใหม่ ดูนะครับ
โดยส่วนตัวผมเข้าเว็บนี้  ( http://distrowatch.com/  )



สรุปก็คือ  OS Linux  คือ ชื่อเรียกโดยภาพรวมของระบบปฎิบัติการเท่านั้นครับ

เวลาสื่อสารกันเบื้องต้น   เวลาจะไปเสนอลูกค้า หรือกล่าวเชิญชวน หรือ บอกสั่นๆ กับผู้อื่น  ก็มักจะใช้คำว่า  "ใช้ Linux "  ก่อนทั้งนั้นแหละครับ   ส่วนจะลงลึกไปถึงใช้ Linux ตัวไหน รุ่นใด ก็ว่ากันไปตามสถานการณ์  

ซึ่งการใช้งานของ Linux ในแต่ละตัว  ไม่ว่าจะเป็น Mint , OpenSUSE , Ubuntu , CentOS และอื่นๆ  ล้วน
แล้วแต่ใช้งานต่างกันตามความเหมาะสม   เช่น
 - Redhat , Mint , CentOS , Ubuntu Server  อันนี้ก็จะเหมาะกับการใช้งานในส่วนของ การทำเป็น Server มากกว่า

- Ubuntu Desktop , Magenia , Arch  แบบนี้ก็จะเหมาะกับการใช้งานในรูปแบบ Desktop Workstation  ประมาณนี้

(แต่ก็ใช้ว่า รุ่น Desktop จะทำงานในรูปแบบ Server ไม่ได้ หรือ Server  จะทำงานในส่วนของ Desktop ไม่ได้ มันก็ไม่เสมอไปนะครับ   ซึ่งมันก็แล้วแต่กรณีมากกว่า )



File Systems
File Systems คือ ระบบไฟล์ในระบบปฏิบัติการลินุกซ์ จะจัดเก็บข้อมูลหรือสารสนเทศซึ่งอยู่ใน long term state ของระบบ คือ อยู่ในหน่วยความจำสำรองเช่น hard disk ซึ่งข้อมูลที่อยู่ใน long term state จะประกอบด้วย operating system kernel , executable files , temporary workfiles , user data , various special files


ซึ่ง Formate ของ File Systems นั้น มีหลายรูปแบบ การใช้งานก็ต่างกันเช่นกันครับ  คือ


linux file system xfs

ระบบไฟล์ XFS เป็น default ของระบบ แทนที่ EXT4 (รุ่นอื่นๆ เช่น Workstation ยังคงใช้ EXT4)
โดยที่ระบบไฟล์ XFS สามารถมีขนาดสูงสุด 16 exabytes ขนาดไฟล์สูงสุด 8 exabytes และมีจำนวน entry ของdirectoryได้สูงสุดถึง 10 ล้านล้าน entry
ขนาดสูงสุดของระบบไฟล์ 1 partition คือ 500TB ในขณะที่ EXT4 ทำได้สูงสุดเพียง 50TB
** ข้อควรระวัง ** ระบบไฟล์ XFS ไม่สามารถลดขนาดลงได้หลังการติดตั้งไปแล้ว ถ้าต้องการลดขนาดของระบบไฟล์ควรเลือกใช้ระบบไฟล์แบบ EXT4

linux file system lvm 
Logical Volume Manager (LVM) เป็นโปรแกรมระบบ (system software) ทำหน้าที่ช่วย map disk partition ที่กระจัดกระจาย อยู่ใน disk ลูกเดียวกัน หรือ อยู่ข้ามลูกกัน นำมายำรวมกันแล้วสร้างเป็น partition จำลอง ที่เสมือนมีเนื้อที่ติดกัน ที่พร้อมจะนำไปสร้างเป็น filesystem

linux file system Ext2
เป็น file system รุ่นที่ 2 ของ linux
เกิดขึ้นมาเมื่อ 1993 โดย Rmy Card
สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาของ Ext version แรก
ยังไม่มี journaling feature
เหมาะสำหรับ flash drive , usb drive เพราะว่าไม่มี over head ของ journaling
ขนาดไฟล์ size สูงสุด คือ 16 GB ถึง 2TB
พื้นที่เก็บ สูงสุดที่ใช้ Ext2 คือ 2TB ถึง 32TB

linux file system Ext3

เป็น file system รุ่นที่ 3 ของ linux
เกิดขึ้นมาเมื่อ 2001 โดย Stephen Tweedie
เริ่มใช้ตั้งแต่ Linux Kernel 2.4.15
หลักของมันก็คือมี Journaling ให้ใช้
Journaling เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของ file system ทำหน้าที่บันทึกการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่เก็บใน file system (เหมือนตัวบันทึกเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ) เมื่อระบบ file system พังขึ้นมา ก็ยังสามารถกู้ข้อมูลได้เร็วขึ้น เพราะว่ามีการบันทึกเอาไว้ ว่าไฟล์ไหนถูกแก้ไขไปบ้างก่อนที่ระบบจะล่ม
ขนาดไฟล์ และ ขนาดพื้นที่รวม ยังคงเท่า Ext2
Journaling มีให้เลือกใช้ 3 แบบ
Journal - เก็บ metada และ content
Ordered - เก็บเฉพาะ metadata เท่านั้น โดยเก็บเฉพาะส่วนการเขียนข้อมูลอย่างเดียว
Writeback - เก็บเฉพาะ metada เท่านั้น โดยอาจจะเก็บทั้งก่อน และ หลัง การเขียนข้อมูล
สามารถแปลงจาก Ext2 มาเป็น Ext3 ได้โดยไม่ต้องมีกระบวนการ backup / restore
directory สามารถจุได้ 32,000 sub directory

linux file system Ext4

เป็น file system รุ่นที่ 4 ของ linux
เกิดเมื่อปี 2008
เริ่มใช้ใน Linux Kernel 2.6.19
รองรับไฟล์ขนาดใหญ่ และ พื้นที่เก็บไฟล์ขนาดใหญ่
ขนาดไฟล์ที่ใหญ่สุดที่เก็บได้คือ 16GB ถึง 16TB
พื้นที่เก็บไฟล์ขนาดใหญ่ที่สุดที่รองรับ คือ 1 EB (exabyte) 1EB เท่ากับ 1024 PB (petabyte) 1 PB = 1024 TB (terabyte) หรือเข้าใจง่ายๆคือมันเก็บได้ 1024*1024*1024*1024 gigabyte เลยทีเดียว
directory (folder) สามารถจุได้ 64,000 sub directory
feature ใหม่ใน ext4 คือ multiblock allocation, delayed allocation, journal checksum, fast fsck และ อื่นๆ โดยจะช่วยเพิ่ม performance และ ความเสถียรให้มากกว่า ext3

*ระบบใหม่ๆส่วนใหญ่  Default จะเป็น xfs ครับ   แต่ก็จะมี Ext 4 และตัวอื่นๆ บ้างแล้วแต่เวอรชั่นของ OS ในแต่ละเจ้าครับ   (ยิ่งเวอรชั่นเก่า File System  Default ก็ยิ่งเก่าครับ)

ถึงช่วงสรุป  แล้วครับ

OS Linux  คือ ชื่อเรียกพื้นฐานโดยภาพรวมของระบบปฎิบัติการเท่านั้น ซึ่ง ถ้าให้เจาะจงลงไปก็จะแบ่งเป็นอีกหลายเจ้าด้วยกัน  เช่น   Ubuntu Red-hat  Debian  Centos  ...... Other

File Systems คือ ระบบไฟล์ในระบบปฏิบัติการลินุกซ์  มีหลายส่วนด้วยกัน   ถ้าพูดบ้านๆ นึกภาพ เปรียบเทียบกับ วินโดว ก็คล้ายๆ ไดรฟ C:/    แล้วโฟลเดอร ยิบย่อย ในไดรฟ C:/ ที่มีไฟล์ยั๊วเยี๊ย ก็คือส่วนของระบบในหน้าที่ต่างๆครับ ความหมายคล้ายๆกับไฟล์ data system ของ Linux  แต่ละส่วนทำหน้าที่ต่างกัน



**บทความหน้า จะ มาลง Linux  OS ค่ายนึงกันนะครับ  จะเป็นค่ายอะไรต้องมาลองดู



ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง

http://thaizimbra.blogspot.com/2013/06/logical-volume-managerlvm-concept.html
http://www.thaiadmin.org/board/index.php?topic=141530.0


** (สามารถเข้าไปศึกษาอ่านข้อมูล ในเว็บอ้างอิงได้นะครับ ถ้ายังไม่เข้าใจ)

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อาชีพไหนใช้ Linux




จากที่เกริ่นมาวันก่อน  

คร่าวๆว่า Linux คืออัลไล  บางคนยังไง บางคนยังเข้าใจ  ถ้ายังไง  ผมแนะนำหาความรู้เพิ่มเติมจาก Google เพื่อความระเอียดอีกที   คียเวิดที่จะเซิส ก็บ้านๆเลย   "Linux คือ"   แค่นี้เองครับ  ผมเชื่อว่า page แรก ของคียเวิดนี้ ก็ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความเข้าใจ Linux ได้เพียงพอแล้ว  

อาชีพไหนเหมาะกับ Linux  

ถ้าไครเข้าใจว่า Linux นี่เหมาะกับแค่อาชีพ System Engineer / Network Engineer   นี่เป้นความเข้าใจที่ผิดนะครับ  Linux ยุคนี้นี่  แทบจะมีบทบาทกับทุกอาชีพเลย   และยิ่งมีกฏหมายเลื่อยลิขสิทธิ์ในประเทศที่เข้มงวดเท่าไหร่  Linux นี่ก็แทบจะมีบทบาทกับปัจจุบันมากเท่านั้น

ยกตัวอย่างเหตุที่ต้องใช้ Linux ในแต่ละอาชีพ

ผมจะขอคร่าวๆ บางอาชีพนะครับ  เพราะจะให้บอกหมด  มือผมคงจะหงิก ขี้เลื่อยในหัวผมคงร้อนเป็นไฟพอดี

 System Engineer  

     แน่นอนครับ ใช้อยู่แล้ว  สายนี้มันต้องคลุกกับ Server นี่นา  ถามว่า ใช้ Windows Server ได้ไหม ? ก็ได้นะครับ  แต่ก็อย่างว่า  นิยามของ System  ไม่ได้แค่พัฒนาระบบนะครับ  แต่จะต้อง บริหารระบบให้เกิดผลประโยนช์กับองค์กรมากที่สุดด้วย   อันไหนที่เราแบ่งเบาภาระบริษัทได้ ก็ควรทำ (ดูเหมือนรักองค์กรเนอะ ...... โบนัสขอเยอะๆนะครับ)   อีกอย่างวินโดวอาจจะมีปัญหาเรื่องใวรัสเยอะกว่า Linux แถมใช้เป็น Server ที่มีการประมวลผลที่ใหญ่ๆ  หลายๆโปรแกรม ก็มักจะเริ่มงอแง เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ  นั่นคือเหตุผลส่วนหนึ่งที่สาย System เขานิยม Linux กัน   ถ้าคนไหนอยากจะผันตัวมาเป็นสายนี้  ก็ทำการบ้านเรื่อง Linux Server มาเลยนะครับ ต้องใช้แน่นอน

Network Engineer 

เช่นกันกับ System Engineer  อีกอย่างสายนี้จะสัมพันท์กับ System En  เพราะ Network Engineer ทุกคนจะต้องเป็น System Engineer ได้ เพราะ  Device ที่มาต่อกับ Network เนี่ย  ไม่ได้มีแค่วินโดวแน่นอน  คุณจะต้องรู้โครงสร้างของ System Server ได้ทุกรูปแบบ วิเคราะห์ปัญหา การจราจรระหว่าง  Server ได้
และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมคุณต้องใช้ Linux  และ System Engineer ก็เช่นกัน หากคุณไม่มีความรู้เรื่อง Network คุณก็ไม่สามารถ สร้าง ระบบที่มีประสิทธิภาพ  ทั้งด้าน Performance และ Security ได้เลย


Programmer 

เอ้า  ไม่เห็นจะเกี่ยว ผมเขียนใส่สคริป ใส่โฟลเดอร์ แล้วโยนขึ้นไปบน ftp ก็จบ !! ไม่เห็นจะต้องศึกษา Linux เลย บางคนอาจจะคิดแบบนี้ใช่ไหมครับ    แต่เดียวก่อนอย่าคิดเช่นนั้นเลย  ทางการเขียนโปรแกรมอาจจะไม่ได้โรยไปด้วยกุหลาบเสมอไปนะครับ  BugบางBug ก็มาจาก โปรแกรมของคุณทำงานไม่สัมพันกับ Server Linux   เนี่ยแหละ   เช่น การเขียนโปรแกรมให้โยนไฟล์ไปนู่นนี่นั่นใน Server  หากคุณไม่รู้เรื่อง Permission ของServer   ไม่บอกให้ทางฝั่ง System ทำ Permission ตรงส่วนต่างๆให้  ก็พาลจะทำให้โปรแกรมของคุณ โดนบล๊อคจากทาง server ได้ หรือร้ายกว่านั้น โดน Hacker มือดีเข้ามาทำมิดีมิร้ายกับโปรแกรมคุณ  ยิ่งคุณไม่รู้ เรื่อง Linux เลย  เกิดบั๊คต่างๆ คุณก็ไปเล็งแก้ปัญหาที่ ตัวโปรแกรมที่คุณเขียน ซ้ำๆ ไปๆ มาๆ อยู่นั้นแหละ โดยทั้งที่ไม่รู้เลยว่าปัญหาเกิดจากฝั่งไหนกันแน่  กลายเป็นเสียเวลา งานเสร็จล้าช้า กระทบกับผลงาน นายไม่ชอบ บอสไม่รัก แฟนทิ้ง บ้านแตก เสียใจ เข้ารพ  เป็นบ้า  แล้วก็อาจจะตายอย่างช้าๆได้ (ขณะนี้ได้เขียนลงอ่าวทะเลไปแล้วววว)
                                     เอาเป็นว่า "รู้น้อยสำคัญ รู้มากสำเร็จ" ละกันนะครับ


คนทั่วไป

เวรกำ  คนทั่วไปต้องใช้ Linux ไปทำมาย  ไม่ได้ทำเซอรเวอร ขายข้าวแกง เปิดร้านกาแฟ  ถ่ายรูป และอีกหลายๆอย่าง

อย่างที่บอก  OS Crack ที่ใช้กันบนคอมทุกวันๆ  มันไม่ได้ถูกกฏหมายนะครับ  ถึงแม้มันจะไม่เข้มงวดกับผู้ใช้รายย่อยมากเท่าไหร่ แต่ก็ใช้ว่าจะไม่ผิดนะครับ    วันดีคืนดี เอาโน๊ตบุคตัวเองไปพรีเซนขายของ เปิดหนังฟังเพลง กลางแจ้ง ไม่ว่าจะเพื่อบันเทิง  หรือจะเพื่อการค้า หรือจะอะไรก็ตามแต่ ถ้าจะเอาผิดจริงๆ เอาได้นะครับ  ยิ่งเอาพวก OS มีลิขสิทธิ์ที่ Crack แล้ว มาทำเพื่อการค้า  อันนี้ก็ยิ่งเจ็บหนักเลยนะครับ  ผมยกตัวอย่างร้านเกมส์ ให้เลย   มันต้องมีครับ ร้านเกมส์ที่โดน  เพราะผมก็อยู่วงการนี้มาเยอะพอสมควร  ใช้วินโดว crack ทั้งร้าน 30 เครื่อง  โดนเลยครับ  เครื่องละ 1 หมื่น 30 เครื่องก็เท่าไหร่หละ
แล้วก็อาชีพต่างๆ อีกหลายๆอาชีพ ที่ต้องอาศัยการทำงานกับ คอมพิวเตอร์เยอะแยะมากมาย  ก็ล้วนแล้วแต่มีโอกาศเสี่ยงทั้งนั้น     ผมเลยอยากจะให้คนหันมาสนใจ Opensource กันบ้าง   และอีกอย่างสมัยนี้มันก็ไม่ได้ใช้ยาก   Linux บางตัวแทบจะเหมือน Windows เลยก็มี    


มาถึงช่วงสรุป กากๆ สไตล์ผมกันแล้วครับ  

อาชีพที่ควรใช้ Linux

-System Engineer = เพราะต้องใช้พัฒนาระบบ / ระบบสเถียรในการRun Service หลายๆตัวในระยะเวลานาน

-System Network = เพราะต้องใช้ในการกำหนดค่าต่างๆ ของระบบเครือข่าย ที่ต้องสอดคล้องกับ Device

-Programmer = ต้องรู้เบื้องต้น เพื่อให้ทำงานได้อย่างสะดวก พัฒนาและแก้ปัญหาบน Server ที่เป็น Linux ได้ถูกจุด

- ทั่วไป = เพราะ การใช้ OS ลิขสิทธ์ ที่Crack มาใช้ มันผิดกฎหมาย ยิ่งการนำ ไปประกอบการสร้างรายได้ให้ตัวเองก็ยิ่งเสี่ยง เข้าไปอีก

ง่ายๆก็เกือบทุกอาชีพที่เข้าไปข้องเกี่ยวกับโลก IT นะแหละครับ


** บทความต่อไป จะมาเริ่มเข้าเรื่อง Linux  ขั้นแรกกันนะครับ  กับบทความ

 "จะใช้ Linux ต้องทำยังไง?"

ผมยังมือใหม่ในการเขียนบทความ  สามารถแนะนำ ติติง และ เพิ่มเติมได้นะครับ ผิดพลาดประการใด ต้องขอภัยด้วยนะครับ 

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Linux คืออะไร ?




Linux  คืออะไร


ก่อนอื่นจะเรียนรู้ด้าน Linux  เราก็จำเป็นต้องเข้าใจ จุดประสงค์ ของการใช้งาน Linux ก่อน
ไม่ใช่ว่า เอะอะอะไรก็จะใช้ Linux พอทำไม่ได้ก็จะมาพูด มาบอกว่า Linux เข้าใจยาก  พาลจะทำให้คนอื่นที่เขาสนใจ ท้อไปด้วยซะเปล่าๆ

Linux คือ
     ตัวปฏิบัติการระบบ (Operating System) ตัวหนึ่ง เช่นเดียวกับ DOS, Windows 95, Windows NT, OS/2  หรือ ระบบ Unix อื่นๆ   Linux ถูกออกแบบมาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ตัวประมวลผลหรือ CPU ตระกูล  x86 ( เช่น 80386, 486, Pentium เป็นต้น) แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาให้ใช้กับตัวประมวลผลตระกูลอื่นๆ เช่น Alpha chip ได้ด้วย โดยจะมีลักษณะการทำงานแบบ Unix

**ถ้าจะสรุปเอาภาษาบ้านๆเลยก็คือ  Linux คือ OS  คล้ายวินโดวที่เราใช้ๆกันเนี่ยแหละครับ  เพียงแต่ชุดคำสั่งมันไม่เหมือนกันเท่านั้นเอง   ผมยกตัวอย่าง เราจะสร้าง โฟลเดอรในรูปแบบของคำสั่ง
-Windows จะใช้คำสั่ง   " MD "
-Linux จะใช้คำสั้ง "mkdir"
ประมาณนี้เองครับ

    ปัจจุบัน Windows  ก็พัฒนาจาก ระบบที่มี DOS เพียงอย่างเดียว เป็นระบบที่มี GUI (Graphic User Interface ) มีหน้าตาให้ ผู้ใช้งานใช้ได้ง่าย เช่น Windows xp , 7 ,8 ,9 ,10 ,11 ,12 (เด่วๆมันยังไม่ถึง ฮ่าๆ) โดยไม่ต้องพิมพ์ Command Line เพียงอย่างเดียวแล้ว
แน่นอนครับ  Linux ก็พัฒนาแบบนั้นเหมือนกัน

**ถ้าจะสรุปภาษาบ้านๆเลยก็ประมาณว่า  Command Line อย่างเดียวมันโหดร้ายเกินไปสำหรับ user บางกลุ่ม  ก็เลยพัฒนาให้มันเห็นภาพซะเลย  จะได้เข้าใจง่ายๆ

ในเมื่อมันเหมือนกับ Windows แล้วทำไมถึงใช้ Linux หละ ?

1. คุณใช้ Windows แท้รึป่าว ?    นี่คือคำถามที่มีความสำคัญกับ โลก IT มากเลยนะครับ  แต่คนบางคนเลือกที่จะมองข้ามคำถามนี้ไป  เพราะประเทศไทย ไม่มีกฎร้ายแรงกับ การผิดลิขสิทธ์มากเท่าไหร่
คนบางคน ก็ใช้ๆ  โดยไม่ค่อยมีไครตั้งคำถามว่า  ใช้วินโดวแคร๊ก วินโดวเถื่อน จะผิดไหม?  มันเลยกลายเป็นแค่ ความสำคัญ ที่ไม่มีไครนึกถึงซะงั้น

แต่ถ้าคุณก้าวมาใน โลกของธุรกิจ IT เมื่อไหร่   สิ่งนี้แหละครับ ที่จะดับอนาคตคุณได้เลย เพราะคุณใช้ OS เถื่อน OS แคร๊กในการทำมาหากิน หรือแม้กระทั่งโปรแกรมเถื่อน โปรแกรมแคล๊กต่างๆ เช่น MSWord /Excel /Powepoint   โดนเจ้าของลิขสิทธิ์ ฟ้อง เป็นแสนๆ  หรือบางคนอาจจะดับฝันธุรกิจตัวเองไปเลยก็มีนะครับ

2. แล้วถ้าวินโดวมันแพงไป อย่างงี้ก็ไม่ต้องทำมาหากินกันเลยนะสิ ? นี่แหละครับ ที่เกิดคำว่า
OS OpenSource ขึ้นมา  ซึ่ง Linux ที่เราจะศึกษากันเนี่ยแหละ คือ OpenSouce OS  (ฺในที่จริงมีหลาย OS นะครับแต่ ตามชื่อ บล๊อคแหละครับ ผมจะมาเน้น Linux  และ Opensource linux software)

ซึ่งจุดเด่นที่หลายๆคนหันมาใช้ Linux ก็คือ
 - ของฟรี แน่นอนระบบปฏิบัติการอย่าง Linux เป็น Open Source ซึ่งเราสามารถจะโหลดมาใช้ได้กันอย่างฟรีๆ และดัดแปลงแก้ไขได้ตามความต้องเลยครับ
   - ปลอดภัยจากไวรัส ทำไมถึงปลอดภัยจากไวรัสล่ะ ก็เพราะ Linux เป็นระบบปฎิบัติการที่มีคนใช้ไม่เยอะเท่า Window จึงทำผู้พัฒนาไวรัสไม่ค่อยอยากจะโจมตีเท่าไรยังไงละครับ (ถึงแม้จะมีมาบ้างแล้ว แต่ ช่องโหว่พวกนี้ก็มีการอุดใว้เบื้องต้นอยู่ดี เพราะ Linux ใช้การกำหนดรูปแบบของ สิทธ์เป็นหลัก จึงเป็นไปได้ยากครับ  ว่าไวรัสจะสามารถทำอะไรได้อิสระ ใน Linux)

   - โปรแกรมเพิ่มเติมฟรี Linux ยังมีโปรแกรมอื่นๆอีกมากมายที่จะให้คุณได้ลองโหลดและมาใช้ได้ฟรีๆ โดยไม่ต้องเสียเงินสักสตางค์แดงเดียว

   - มีเวอร์ชั่นใหม่อัพเดทตลอดเวลา ก็เพราะว่า Linux มีคนอยากพัฒนากันทั่วโลกทำให้ Linux มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้อย่างเราตามแทบไม่ทันกันเลย

   - ใช้ทรัพยากรณ์น้อย ระบบปฎิบัติการ Linux ยังสามารถรันได้แม้จะเป็นคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ เพราะใช้ทรัพยากรณ์ของเครื่องน้อยมาก

  - รุ่น Server ที่รองรับการเปิดทิ้งใว้เป็นเดือนๆ โดยเครื่องไม่มีปัญหาอะไรเลย  (ยกเว้นปัญหาค่าไฟ )

  - และอื่นๆอีกมากมาย นึกได้แล้วจะมาแก้ไขเพิ่มในบทความให้ครับ


เอาหละ !!  ถึงช่วงสรุปใจความบ้านๆ กากๆ  สไตล์ Knotto ละกันครับ

1. Linux เหมือน วินโดว แตกต่างกันตรงชุดคำสั่ง และ ที่อยู่ของไฟล์ต่างๆ
2. Linux เป็นของฟรี  ลิขสิทธิ์มาตรวจ ก็ยืดอกบอกได้เลย  ผมใช้ Linux ผมเป็น Opensource โว้ย!! ไม่ได้แอ้มเรียกค่าเสียหายจากผมหรอก
3. Linux มีหลากหลายรุ่น แล้วแต่การใช้งาน  server desktop บลาๆ
4. Linux ปัจจุบัน ทำงานได้แทบคล้าย windows เลยก็ว่าาได้  เรียกได้ว่า วินโดวทำไรได้ Linux ก็ทำได้เว่ย  (ส่วนใหญ่นะ)

บทความหน้า เราจะมาพูดถึง Linux กับ คนสาย IT ทั้งหลายสายกันนะครับ (System , Network , Linux)

ขอขอบคุณ
http://www.itclickme.com
https://th.wikipedia.org/wiki/ลินุกซ์
https://www.blogger.com