วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2558

จะเริ่มใช้ Linux ต้องทำยังไง?





บทความเกริ่นนำเรื่อง Linux มาคร่าวๆบ้างแล้ว    

**คงไม่มีทฤษฎีไหน จะทำให้เข้าใจมากกว่าการปฎิบัติ หรอกครับ   แต่ถ้าปฎิบัติทั้งๆที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลยมันก็คงจะทำได้ยาก    ถ้าแค่ติดตั้งงูๆปลาๆ  เด็กมัธยม ก็ทำได้ครับ  แค่ติ๊กๆ  Nextๆ   รอ Install ก็จบ  สรุปคือ ลงได้ ผ่านๆ  แต่ไม่ได้ความรู้เหวววอะไรเลย  เปลี่ยนดั่งพี่เป็นแค่ขอนไม้ อะไรประมาณนั้นครับเลยอยากจะให้เข้าใจ ทฤษฎีบ้านๆ  ที่เกี่ยวกับการติดตั้งให้ฟังกันก่อน

แต่ก่อนจะปฎิบัติผมอยากจะบอกให้เข้าใจง่ายๆก่อนว่า คำว่า ระบบปฎิบัติการ Linux  นั้น เป็นเพียงจุดเริ่มตั้นของ OS Linux เท่านั้น  (What? !!)

Linux OS 

Linux มี หลายสายพันธ์มากครับ ตัวผมเองก็ไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่ารู้จักทุกสาย  แต่จะขอเน้นๆที่คนใช้งานและพูดถึงกันหลักๆนะครับ

- Mint
- Opensuse
- Ubuntu
- Centos
- Redhat
- Fedora
- Arch
- Kali
และอื่นๆอีกมากมาย (ขนาดยกตัวอย่างการใช้งานหลักๆ ยังบอกได้ไม่หมดเลย)
ยังไงก็ลองเข้าไปดู  ไปศึกษา OS Linux ยอดนิยม และ OS Linux มาใหม่ ดูนะครับ
โดยส่วนตัวผมเข้าเว็บนี้  ( http://distrowatch.com/  )



สรุปก็คือ  OS Linux  คือ ชื่อเรียกโดยภาพรวมของระบบปฎิบัติการเท่านั้นครับ

เวลาสื่อสารกันเบื้องต้น   เวลาจะไปเสนอลูกค้า หรือกล่าวเชิญชวน หรือ บอกสั่นๆ กับผู้อื่น  ก็มักจะใช้คำว่า  "ใช้ Linux "  ก่อนทั้งนั้นแหละครับ   ส่วนจะลงลึกไปถึงใช้ Linux ตัวไหน รุ่นใด ก็ว่ากันไปตามสถานการณ์  

ซึ่งการใช้งานของ Linux ในแต่ละตัว  ไม่ว่าจะเป็น Mint , OpenSUSE , Ubuntu , CentOS และอื่นๆ  ล้วน
แล้วแต่ใช้งานต่างกันตามความเหมาะสม   เช่น
 - Redhat , Mint , CentOS , Ubuntu Server  อันนี้ก็จะเหมาะกับการใช้งานในส่วนของ การทำเป็น Server มากกว่า

- Ubuntu Desktop , Magenia , Arch  แบบนี้ก็จะเหมาะกับการใช้งานในรูปแบบ Desktop Workstation  ประมาณนี้

(แต่ก็ใช้ว่า รุ่น Desktop จะทำงานในรูปแบบ Server ไม่ได้ หรือ Server  จะทำงานในส่วนของ Desktop ไม่ได้ มันก็ไม่เสมอไปนะครับ   ซึ่งมันก็แล้วแต่กรณีมากกว่า )



File Systems
File Systems คือ ระบบไฟล์ในระบบปฏิบัติการลินุกซ์ จะจัดเก็บข้อมูลหรือสารสนเทศซึ่งอยู่ใน long term state ของระบบ คือ อยู่ในหน่วยความจำสำรองเช่น hard disk ซึ่งข้อมูลที่อยู่ใน long term state จะประกอบด้วย operating system kernel , executable files , temporary workfiles , user data , various special files


ซึ่ง Formate ของ File Systems นั้น มีหลายรูปแบบ การใช้งานก็ต่างกันเช่นกันครับ  คือ


linux file system xfs

ระบบไฟล์ XFS เป็น default ของระบบ แทนที่ EXT4 (รุ่นอื่นๆ เช่น Workstation ยังคงใช้ EXT4)
โดยที่ระบบไฟล์ XFS สามารถมีขนาดสูงสุด 16 exabytes ขนาดไฟล์สูงสุด 8 exabytes และมีจำนวน entry ของdirectoryได้สูงสุดถึง 10 ล้านล้าน entry
ขนาดสูงสุดของระบบไฟล์ 1 partition คือ 500TB ในขณะที่ EXT4 ทำได้สูงสุดเพียง 50TB
** ข้อควรระวัง ** ระบบไฟล์ XFS ไม่สามารถลดขนาดลงได้หลังการติดตั้งไปแล้ว ถ้าต้องการลดขนาดของระบบไฟล์ควรเลือกใช้ระบบไฟล์แบบ EXT4

linux file system lvm 
Logical Volume Manager (LVM) เป็นโปรแกรมระบบ (system software) ทำหน้าที่ช่วย map disk partition ที่กระจัดกระจาย อยู่ใน disk ลูกเดียวกัน หรือ อยู่ข้ามลูกกัน นำมายำรวมกันแล้วสร้างเป็น partition จำลอง ที่เสมือนมีเนื้อที่ติดกัน ที่พร้อมจะนำไปสร้างเป็น filesystem

linux file system Ext2
เป็น file system รุ่นที่ 2 ของ linux
เกิดขึ้นมาเมื่อ 1993 โดย Rmy Card
สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาของ Ext version แรก
ยังไม่มี journaling feature
เหมาะสำหรับ flash drive , usb drive เพราะว่าไม่มี over head ของ journaling
ขนาดไฟล์ size สูงสุด คือ 16 GB ถึง 2TB
พื้นที่เก็บ สูงสุดที่ใช้ Ext2 คือ 2TB ถึง 32TB

linux file system Ext3

เป็น file system รุ่นที่ 3 ของ linux
เกิดขึ้นมาเมื่อ 2001 โดย Stephen Tweedie
เริ่มใช้ตั้งแต่ Linux Kernel 2.4.15
หลักของมันก็คือมี Journaling ให้ใช้
Journaling เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของ file system ทำหน้าที่บันทึกการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่เก็บใน file system (เหมือนตัวบันทึกเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ) เมื่อระบบ file system พังขึ้นมา ก็ยังสามารถกู้ข้อมูลได้เร็วขึ้น เพราะว่ามีการบันทึกเอาไว้ ว่าไฟล์ไหนถูกแก้ไขไปบ้างก่อนที่ระบบจะล่ม
ขนาดไฟล์ และ ขนาดพื้นที่รวม ยังคงเท่า Ext2
Journaling มีให้เลือกใช้ 3 แบบ
Journal - เก็บ metada และ content
Ordered - เก็บเฉพาะ metadata เท่านั้น โดยเก็บเฉพาะส่วนการเขียนข้อมูลอย่างเดียว
Writeback - เก็บเฉพาะ metada เท่านั้น โดยอาจจะเก็บทั้งก่อน และ หลัง การเขียนข้อมูล
สามารถแปลงจาก Ext2 มาเป็น Ext3 ได้โดยไม่ต้องมีกระบวนการ backup / restore
directory สามารถจุได้ 32,000 sub directory

linux file system Ext4

เป็น file system รุ่นที่ 4 ของ linux
เกิดเมื่อปี 2008
เริ่มใช้ใน Linux Kernel 2.6.19
รองรับไฟล์ขนาดใหญ่ และ พื้นที่เก็บไฟล์ขนาดใหญ่
ขนาดไฟล์ที่ใหญ่สุดที่เก็บได้คือ 16GB ถึง 16TB
พื้นที่เก็บไฟล์ขนาดใหญ่ที่สุดที่รองรับ คือ 1 EB (exabyte) 1EB เท่ากับ 1024 PB (petabyte) 1 PB = 1024 TB (terabyte) หรือเข้าใจง่ายๆคือมันเก็บได้ 1024*1024*1024*1024 gigabyte เลยทีเดียว
directory (folder) สามารถจุได้ 64,000 sub directory
feature ใหม่ใน ext4 คือ multiblock allocation, delayed allocation, journal checksum, fast fsck และ อื่นๆ โดยจะช่วยเพิ่ม performance และ ความเสถียรให้มากกว่า ext3

*ระบบใหม่ๆส่วนใหญ่  Default จะเป็น xfs ครับ   แต่ก็จะมี Ext 4 และตัวอื่นๆ บ้างแล้วแต่เวอรชั่นของ OS ในแต่ละเจ้าครับ   (ยิ่งเวอรชั่นเก่า File System  Default ก็ยิ่งเก่าครับ)

ถึงช่วงสรุป  แล้วครับ

OS Linux  คือ ชื่อเรียกพื้นฐานโดยภาพรวมของระบบปฎิบัติการเท่านั้น ซึ่ง ถ้าให้เจาะจงลงไปก็จะแบ่งเป็นอีกหลายเจ้าด้วยกัน  เช่น   Ubuntu Red-hat  Debian  Centos  ...... Other

File Systems คือ ระบบไฟล์ในระบบปฏิบัติการลินุกซ์  มีหลายส่วนด้วยกัน   ถ้าพูดบ้านๆ นึกภาพ เปรียบเทียบกับ วินโดว ก็คล้ายๆ ไดรฟ C:/    แล้วโฟลเดอร ยิบย่อย ในไดรฟ C:/ ที่มีไฟล์ยั๊วเยี๊ย ก็คือส่วนของระบบในหน้าที่ต่างๆครับ ความหมายคล้ายๆกับไฟล์ data system ของ Linux  แต่ละส่วนทำหน้าที่ต่างกัน



**บทความหน้า จะ มาลง Linux  OS ค่ายนึงกันนะครับ  จะเป็นค่ายอะไรต้องมาลองดู



ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง

http://thaizimbra.blogspot.com/2013/06/logical-volume-managerlvm-concept.html
http://www.thaiadmin.org/board/index.php?topic=141530.0


** (สามารถเข้าไปศึกษาอ่านข้อมูล ในเว็บอ้างอิงได้นะครับ ถ้ายังไม่เข้าใจ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น